top of page

Auto Transformer Starter 1,600 Amps.ตู้ออโต้ทรานฟอร์มเมอร์สตาทเตอร์ชุดนี้ เป็นของโรงงานน้ำตาลมิตรผล เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการนำตู้เมนรุ่น DM.Series มาใช้ประกอบเป็นตู้เมนขนาดใหญ่กำลังกระแส 1600 แอมป์ ตู้ชุดนี้เป็นชุดควบคุมระบบหีบอ้อย

denco_transformer_starter_for_sugar_plan
denco_transformer_starter_for_sugar_plan

ตู้ออโต้ทรานฟอร์มเมอร์สตาทเตอร์ชุดนี้ เป็นของโรงงานน้ำตาลมิตรผล เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการนำตู้เมนรุ่น DM.Series มาใช้ประกอบเป็นตู้เมนขนาดใหญ่กำลังกระแส 1600 แอมป์ ตู้ชุดนี้เป็นชุดควบคุมระบบหีบอ้อยของโรงงานน้ำตาล ซึ่งจะมีมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ๆหลายชุด สำหรับทำงานบีบอัดอ้อยจำนวนหลายร้อยตันต่อวัน เพื่อบีบเอาน้ำอ้อยลำเลียงเข้าสู่สายการผลิตน้ำตาลทรายงานนี้มีเวลาเป็นเครื่องกำหนดเพราะงานทั้งหมดต้องติดตั้งให้ทันใช้งานใน" ฤดูหีบอ้อย "หลังจากที่ทีมงานของ " Owner " ได้เดินทางมาเยี่ยมชมกระบวนการผลิตต่างๆของโรงงานใหม่แล้ว และได้  ทราบรายละเอียดของตู้และหมายกำหนดการทั้งหมด แล้วก็เริ่มงานนี้

ตู้DM.Series ขนาด W 4000 X H 2100 X D800 ได้ผ่านกระบวนการ ออกแบบ คิดหน้าเหล็ก ตัดบากพับประกอบและพ่นสี ใช้เวลา หนึ่งสัปดาห์ก็ประกอบขึ้นเป็นโครงตู้พร้อมยึดอุปกรณ์ต่างๆการสตาร์ทมอเตอร์ด้วยระบบ Auto Transformer ก้จะคล้ายกับการสตาร์ทด้วยระบบ สตาร์เดลต้าเพียงแค่คล้ายนะครับแต่การทำงานของระบบ Auto transformer startจะมีความซับซ้อนกว่า และมีราคาสูงกว่าระบบ Star/Delta ซึ่งจะต้องมี " หม้อแปลง "หรือบางท่านเรียกว่า " โช๊คไฟ " ซึ่งการสตาร์ทแบบนี้เหมาะสำหรับมอเตอร์ขนาดใหญ่ๆแรงบิดสูงๆ และเป็นการใช้สำหรับเครื่องจักรที่ต้องทำงานอย่างต่อเนื่องและบางครั้งก็จะมีโหลดหนักๆเป็นระยะๆ อธิบายไม่ถูก ง่ายๆก็คือว่าเหมาะกับมอเตอร์ตัวใหญ่ๆซึ่งบางครั้งโหลดอาจจะมีการกระตุกบ้าง เช่นเวลาที่วัสดุที่มีรูปร่างไม่เท่ากันทุกอันอย่างเช่นอ้อย บางทีก็เกิดอาการไม่ไหลลงมา บางทีก็ลงมาเป็นจำนวนมาก หีบหรือกระพ้อจะเกิดอาการหนืดหรืออั้นแบบการอั้นของระบบไฮดรอริกตู้จะถูกแบ่งออกเป็นสองโซนคือโซนส่วนหน้าจะวางอุปกรณ์ต่างๆ MCCB. เป็นตัวเมนย่อยสำหรับตัดหรือจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังชุดสตาร์ทเตอร์ Magnatic ตัวเมน และตัวสลับขั้วของหม้อแปลง แล้วจ่ายไปยังมอเตอร์ นอกนั้นก็จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการหน่วงเวลา เช่น Timmer Relay & etc.

ในส่วนด้านหลังก็จะเป็นส่วนที่วางสำหรับ หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือเล็กก็ขึ้นอยู่กับขนาดของมอเตอร์แต่ละตัว ในการออกแบบควรให้ตู้มีความลึกมากพอสมควร เพราะเมื่อทำงานแล้วจะเกิดความร้อนจากหม้อแปลง ฐานที่วางหม้อแปลงแต่ละลูกก็ต้องมีความแข็งแรง ไม่อย่างนั้นจะเกิดเสียงHumming เนื่องจากการทำงานของหม้อแปลง บวกกับฐานที่ไม่แข็งแรง จะมีเสียงดังมาก หากติดตั้งในห้องคอนโทรลรูม จะมีเสียงรบกวนผู้ปฎิบัติงานมากพอสมควร

พัดลมระบายอากาศจึงมีความจำเป็นที่จะต้องติดเข้าไปในตู้ชุดนี้ "อย่างพอเพียง " คำว่าพอเพียงนั้นหมายถึง จะต้องมีจำนวนพัดลมมากพอที่จะระบายความร้อนให้ออกมาจากตู้ ต้องมีการคำนวณหา Air Change อย่างถูกต้องจะประมาณหรือกะเอาไม่ได้ และก็ต้องเลือกพัดลมที่เหมาะสม มีความทนทานสามารถทำงานอย่างต่อเนื่องได้โดยไม่เกิดปัญหา รวมทั้งต้องออกแบบทิศทางการไหลเวียนของอากาศภายในตู้ ให้มีกระแสลมเคลื่อนผ่านอุปกรณ์ที่ เกิดความร้อน เพื่อให้เกิดการนำพาความร้อนออกไปทิ้งภายนอกตู้ ถ้าไม่พิจารณาตรงนี้ให้ดี หรือไม่มีความรู้ที่ชัดเจน จะเกิดความร้อนสะสมจำนวนมากภายในตู้ ถ้าเป็นในบางประเทศ หรือบางพื้นที่ ที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง ก็อาจจะจะมีการกลั่นตัวของหยดน้ำจากความชื้น ซึ่งจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ถ้าตู้ถูกติดตั้งในห้อง Control Room ที่มีการติดตั้งเครื่องทำความเย็น (Air Condition) เพียงเขียนเล่าสู่กันฟัง อย่าไปตกอกตกใจอะไรมาก ทุกอย่างสามารถ ป้องกันและสามารถแก้ไขได้ ทั้งในขั้นตอนการออกแบบ หรือแม้นแต่การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น หลังจากที่ติดตั้งไปแล้วทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์และชั่วโมงบิน ของผู้ที่ทำงานทางด้านนี้ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ อิเลคทรอนิคบางอย่างจะออกแบบมาสำหรับเมืองหนาว พอนำมาใช้งานในแถบบ้านเรา อุณหภูมิหรือความร้อนสะสม จะเป็นตัวแปรสำคัญ มาทำความเข้าใจเรื่องการระบายอากาศในตู้ไฟฟ้าเอาไว้เบื้องต้นบ้างครับเมนเบรคเกอร์ขนาด1600 แอมป์ ตั้งบัสบาร์รับทางด้านบนแล้วผ่านเมนเบรคเกอร์ แล้วTabขึ้นด้านบนวิ่งยาวตลอด เพื่อจ่ายให้กับ Auto Transformer 132 kw. จำนวน 5 ชุด

งานนี้รายละเอียดมากพอสมควร เราจึงใช้วิธีแบ่งทำภาคPower จ่ายไปยังชุดสตาร์ทแต่ละชุดให้เสร็จก่อน ส่วนพวกMeteringControl ที่เป็นสายขนาดเล็ก ก็แบ่งเก็บกันไป เป็นชุดๆจนแล้วเสร็จ ในภาพเป็นช่วงเก็บรายละเอียดพวก เส้นไมมิก (mimic)และป้ายต่างๆ(name plate)รวมทั้งทำความสะอาดเพื่อที่จะเตรียมแยกตู้ และจัดขึ้นรถเตรียมไว้ เมื่อเวลามีจำกัด เราต้องทำงานแข่งกับเวลา ตู้ทีทั้งหมด 5 ห้อง เราต้องเก็บงานให้เสร็จจากหัวไปท้าย ตู้จำนวน5 ห้องแบ่งออกเป็น สองตอนกลุ่มหนึ่ง และสามตอนกลุ่มหนึ่ง ในช่วงเวลาเร่งด่วนขนาดนี้ การแก้ปัญหาก็คือ ทำให้สองตอนแรกคือห้องเมน( Main Incomming)

และ 132 kw. ชุดแรกเสร็จเรียบร้อย แยกตัวตู้และบัสบาร์เมนออกมา เพื่อเตรียมการห่อป้องกันน้ำฝน ถ้าฝนตกระหว่างทาง การเตรียมการก่อนออกเดินทางซึ่งเป็นการยกตู้ขนาดใหญ่ขึ้นรถและทำการผูกรัด ให้มั่นคง แน่นหนา ใช้เวลานานเป็นหลายชั่วโมงส่วนไหนเตรียมได้ก่อนต้องทำเอาไว้ให้เรียบร้อย

งานเดินสายเมนและวงจรคอนโทรล เสร็จเรียบร้อยและทดสอบแล้วตั้งแต่เมื่อวันก่อนวันนี้เป็นขั้นตอนการแยกส่วน ขั้นตอนการตรวจสอบครั้งสุดท้าย  ทำความสะอาด และยกขึ้นรถเพื่อเดินทางคืนนี้ และต้องไปให้ถึงหน้างานตอนเช้า เพราะมีทีมงานติดตั้ง รออยู่ที่หน้างานอีกหลายกลุ่มในตอนเช้า

การขนส่งตู้ที่มีอุปกรณ์ติดตั้งแล้วภายใน ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อต้องมีการขนส่ง ทางไกลการเดินทางด้วยรถยนต์ ระยะทางกว่าห้าร้อยกิโลเมตร ต้องห่อด้วยผ้าพลาสติกสองชั้น เพื่อป้องกัน น้ำค้างยามใกล้รุ่ง และในบางครั้งอาจเกิดฝนตกกลางทาง นอกจากจะต้องมีผ้าใบที่คลุมกันแดดกันฝนก็ต้องคลุมทับอีกชั้นหนึ่งด้วย ผ้าพลาสติกจะช่วยป้องกันความชื้นต่างๆ เข้าสู่ภายในตู้แต่การห่อต้องห่อให้ถูกต้อง คือการห่อจากทางด้านล่างก่อน แล้วทับเกล็ดขึ้นไปแบบปูกระเบื้องหลังคา และสุดท้ายใช้ผ้าพลาสติกคลุมลงจากด้านบน เพื่อป้องกันกรณีไปพบกับ ฝนตกหนักกลางทาง ผ้าพลาสติกม้วนละ สองร้อยบาทคุ้มค่ากับมูลค่าตู้และอุปกรณ์หลักล้าน ป้องกันไว้ดีที่สุด

แล้วก็ปิดด้วยกระดาษลูกฝูกอีกชั้นหนึ่ง ยกขึ้นรถ รัดด้วยสายรัดที่แน่นหนา ตอกไม้กับพื้นรถป้องกันการไหล เวลาที่รถขึ้นเนินลงเนิน ขึ้นสะพาน หรือเบรคกระทันหัน แล้วคลุมด้วยผ้าใบอย่างหนาอีกรอบก็ถือว่ามั่นใจได้ ไม่ว่าจะไปพบกับพายุฝนฟ้าคะนองขนาดไหน ตู้และอุปกรณ์ ภายในก็จะไม่เปียก และรถก็ต้องอยู่ในสภาพพร้อม เรามีรถของเราเองและพนักงานขับรถที่มีความชำนาญ และขับขี่ด้วยความใจเย็น ระมัดระวัง ยกขึ้นรถและออกจากโรงงานตอน 02.00 น.ตู้ชุดนี้ก็ไปถึงหน้าโรงงานตรงตามนัดหมายในตอนเช้าอย่างเรียบร้อยและปลอดภัย ขอบคุณทุกๆท่านที่ช่วยในการประสานงานและให้ข้อมูลทุกอย่าง อย่างรวดเร็ว ขอบคุณทุกๆท่านครับ

ผู้เขียนก็พยายามที่จะเก็บรวบรวมภาพถ่ายและเขียนบรรยายด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ซึ่งบางท่านที่มีความรู้ ความชำนาญแล้ว ก็อ่านผ่านๆไปครับ จากการทำงานในการผลิตตู้สวิชบอร์ดไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี พศ. 2538 ถึงปัจจุบัน ตู้ขนาดเล็กๆ 100 Amps.ไปจนถึงขนาดใหญ่ๆ ก็ได้มีโอกาสร่วมงานกับ ผู้คนมากมาย ทั้งที่เป็นวิศวกรผู้เชี่ยวชาญทางระบบไฟฟ้าโดยตรง และน้องๆที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา ต้องมาทำงานยากในส่วนที่ตนเองยังไม่มีประสบการณ์ ผู้เขียนจึงได้พยายามรวบรวม งานบางโครงการที่น่าสนใจ นำมาเขียนด้วยภาษาไทยแบบง่ายๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ เพิ่มความมั่นใจ และความปลอดภัย ในการทำงานในลักษณะต่างๆเข้าไปในเนื้อหาสาระ คาดหวังว่าจักเป็นสาระประโยชน์ต่อท่านที่ให้ความสนใจบ้างตามสมควร

denco_transformer_starter_for_sugar_plan
denco_transformer_starter_for_sugar_plan
IMG_7761.jpg

AUTHOR

ประพนธ์​ ประทุมถิ่น

Chief Executive Officer

Prapon@denco.co.th

denco_transformer_starter_for_sugar_plan

 ตู้ออโต้ทรานฟอร์มเมอร์สตาร์ทเตอร์ของโรงงานน้ำตาลมิตรผล 

Stainless Desk Console System

For New Aromatic Plant

bottom of page